ท่ายืน
การยืนจะมีด้วยกันหลายแบบ จะไม่มีท่าไหนที่ดีที่สุด เพราะจะขึ้นกับความถนัดและร่างกายของแต่ละคน ดังนั้นท่ายืนจะมีตั้งแต่ยืนเฉียงเข้าหาเป้า45องศา รึยืนสะโพกหันตรงกับเป้า ลองหาดูว่ายืนตำแหน่งไหนที่เรารู้สึกสบายกับร่างกายและการเล็ง. การวางเท้า ตำแหน่งของปลายเท้าอาจจะกางออก หรือไม่กางออกก็ได้ ความห่างของเท้าโดยทั่วๆไปจะวางเท้ากว้างประมาณไหล่ แต่อาจจะแคบกว่าหรือกว้างกว่าไหล่ก็ได้ ดังนั้นต้องดูตอนที่ฝึกซ้อมว่าเป็นอย่างไร ส่วนมือซ้ายอาจจะล้วงกระเป๋ากางเกง เอาหัวแม่มือเกี่ยวกระเป๋ากางเก่ง รึจะวางบนหัวเข็มขัดก็ได้ หรือจะยืนแบบเท้าสะเอวก็ได้ สรุปท่าทางการยืนจะอยู่ที่ผู้ยิงถนัดท่าไหน และซ้อมแล้วมั่นใจกับท่าไหนที่สุด สบายกับท่าไหนมากที่สุด นักกีฬระดับโลกท่ายืนจะแตกต่างกันทุกคนสังเกตุจากภาพได้
น้ำหนักการวางเท้าของท่ายืน
การวางน้ำหนักเท่าจะมีหลายแบบ วางเท้าแบบให้น้ำหนักมาทางด้านหน้าเท้า วางเท้าแบบให้น้ำหนักอยู่ตรงกึ่งกลางเท้า วางเท้าแบบให้น้ำหนักลงตรงส้นเท้า ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้ผู้ยิงต้องศึกษาให้ดีว่าการยืนแบบไหนแล้วตัวผู้ยิงจะนิ่งมากที่สุด ไม่โอนไปเอนมา เราสามารถสังเกตุการยืนได้โดยจากการยืนตรงหน้ากระจก ทำท่ายิงปืนใส่กระจก. แล้วสังเกตุดูว่าร่างกายมีการโอนเอนรึไม่ ในขณะที่ทำการฝึกยกปืนแล้วเล็ง ให้ทำหลายๆครั้งจะสังเกตุเห็นอาการต่างๆได้ชัดเจน
ตำแหน่งการหันหน้ามองเข้าหาเป้า
ผู้ยิงควรจะหันหน้ามองเป้าโดยให้ตาอยู่เกือบตรงกลางตา ไม่ควรหันหน้าแบบ ใช้หางตามองเป้า ดังนั้นในการฝึกช่วงแรกๆ ต้องพยายามปรับตำแหน่งการมองให้ถูกต้อง หัวไม่ควรเอียงผิดรูปมากเกินไป ควรจะอยู่ในตำแหน่งธรรมชาติ ถ้าตำแหน่งหน้าผิดรูปมากไป เช่นเงยหน้าหรือกดหน้ามากเกินไป จะทำให้เกิดการเมื่อยล้าได้ง่ายเวลาฝึกยิงปืนไปนานๆ ดังนั้นต้องจัดตำแหน่งหน้าให้ดีตั้งแต่เริ่มหัดแรกๆ
การหายใจ
ควรแบ่งการหายใจเป็นสองครั้ง คือขณะที่ยกปืนขึ้นให้หายใจเข้า และช่วงที่กำลังลดปืนลงให้หายใจออก แล้วจากนั้นก็หายใจเข้าสบายๆอีกครั้งไม่ต้องมากเกินไป เพราะร่างกายแต่ละคนแตกต่างกันดังนั้นต้องศึกษาดูว่าลมหายใจของเราควรจะหายใจยาวสั้นขนาดไหน และควรจะกักลมหายใจในขณะกำลังจะยิงตอนไหน ทุกอย่างต้องสังเกตุจากการฝึกซ้อม เพราะถ้าหายใจเพียงครั้งเดียวแล้วกลั้นลมหายใจเพื่อกักลม จะทำให้เกิดอาการมึนและเบลอได้ เมื่อต้องฝึกซ้อมยิงปืนนานๆหลายชั่วโมง
การวางตำแหน่งกล้ามเนื้อด้านซ้าย
สำหรับการยิงปืนอัดลมระบบแข่งขัน ผู้ที่ถนัดมือขวา ไม่ควรเกร็งกล้ามเนื้อด้านซ้ายขณะยิง (แขนซ้ายไหล่ซ้าย) ควรจะปล่อยกล้ามเนื้อด้านซ้าย สบายๆ ไม่ควรจะเกร็งกล้ามเนื้อขณะยิง
ระยะเวลาในการฝึกซ้อม
เวลาในการฝึกซ้อมยิงปืนแต่ละครั้ง ไม่ควรที่จะฝึกซ้อมเกินสามชั่วโมงต่อครั้ง เพราะถ้ามากกว่านี้จะเกิดความเครียดมากเกินไปและอาจจะทำให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ เราสามารถแบ่งการฝึกซ้อมเป็นสองช่วงเวลา คือเช้าและบ่าย และออกกำลังกายหลังฝึกซ้อมช่วงเย็นเพิ่มเติมได้
การเตรียมตัวฝึกซ้อม
ทำการยืดกล้ามเนื้อก่อนและหลังการฝึกซ้อม10-20นาที จากนั้นควรdry fire (คือการฝึกยกปืน ฝึกเล็ง ฝึกคุมจังหวะไกโดยไม่ใช้กระสุน) ก่อน20นาที-1ชั่วโมง เพื่อปรับกล้ามเนื้อ จังหวะ และความคิดให้สมดุลกัน เมื่อครบแล้วจึงฝึกซ้อมด้วยการยิงจริง ให้พยายามฝึกหลายๆรูปแบบ ไม่ควรจะฝึกด้วยโปรแกรมเดียวนานๆ